วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประสิทธิภาพการลดอุณหภูมิ

ความสามารถและประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิ (Performance & Efficiency)
ด้วยสภาพของประเทศไทยที่มีลักษณะเป็นเขตร้อนชื้นในช่วงเวลากลางวันขณะที่อุณหภูมิสูง ความชื้นสัมพัทธ์จะต่ำ ซึ่งทำให้สามารถลดอุณหภูมิได้มาก จากผลการทดลองในเขตพื้นที่กรุงเทพๆ ปริมณฆล ในเดือนเมษายนพบว่า สามารถลดอุณหภูมิลงได้ถึง 10องศาเซลเซียส

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพ
1.ชนิด ขนาดความหนาของ Cooling Pad ซึ่งมีผลต่อความเร็วลมผ่าน ซึ่งตามมาตราฐานอยู่ที่ 2m/s ไม่ควรเกิน 3m/s ส่วน Pressure Drop วัดเปรียบเทียบจากอากาศผ่าน Cooling Pad ขณะเปรียกเทียบกับขณะแห้ง ต้องมีค่า Pressure Drop ไม่เกิน 10%
2.มุมของ Cooling Pad กับทิศทางของอากาศไหลผ่าน จะต้องเพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อระเหยของน้ำที่ดีที่สุด ซึ่งมาตราฐานแนวดึ่งทำมุม 60องศา กับ Air Flow ส่วนแนวราบทำมุม 30องศา กับ Air Flow
3.อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์อากาศเข้า Inlet Air Flow

รูปแสดงเปรียบเทียบประสิทธิภาพการลดลงของอุณหภูมิ ระดับความชื้นสัมพัทธ์ต่างๆ

Wind Chill Effect
มีลักษณะเหมือนกับการทำความเย็นของพัดลม เกิดจากการเคลื่อนที่ของลมผ่านผิวหนังของมนุษย์ ทำให้เกิดการระเหยของความชื้นบนผิวหนัง ทำให้เรารู้สึกว่าอุณหภูมิลดลงอย่างน้อยประมาณ 2องศาเซลเซียส การจะใช้ประโยชน์จาก Wind Chill Effect ขึ้นอยู่กับการออกแบบต้องให้มีการกระจายลม อย่างมีประสิทธิภาพ

ตารางอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ประสิทธิภาพของ Evaporative Vantilation Air Cooler

แผนที่แสดงอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในประเทศไทยปี2550 (หน่วยองศาเซลเซียส)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น